วันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บทที่ 9 E-government


             สำหรับประเทศไทย ในเรื่องการบริหารและการบริการของรัฐแก่ประชาชน มีการกล่าวถึงตั้งแต่ในกฎหมายสูงสุดของประเทศคือ รัฐธรรมนูญฯ ในมาตรา 78หรือแผนสภาพัฒน์ฯ ฉบับที่ 8 ที่กล่าวถึงการ นําไอทีมาใช้เพื่อเชื่อมโยง ระหว่างหน่วยงานของรัฐกับภาคเอกชน เพื่อการบริหารและการบริการที่มีประสิทธิภาพ  นอกจากนี้ ในแผนไอทีแห่งชาติเองก็ระบุวาหน่วยงานของรัฐต้องลงทุนให้พร้อมด้วยไอที และบุคลากรที่มีศักยภาพในการใช้ไอที ในแผนปฏิรูประบบบริหารภาครัฐก็ได้กำหนดกิจกรรมหนึ่งที่ทุกส่วนราชการต้องดําเนินการไว้ในแผนหลักเกี่ยวกบการปรับเปลี่ยนบทบาท ภารกิจและวิธีการบริหารของภาครัฐว่าการพัฒนาให้มีระบบสารสนเทศของหน่วยงานกลางในภาครัฐ ตลอดจนนําเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เหมาะสมมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานภาครัฐและการให้บริการแก่ประชาชน จะเห็นว่าในระดับนโยบายนั้นมีการให้ความสําคัญในเรื่องนี้มาโดยตลอด

ความหมาย e-government
E-government หรือรัฐอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วยหลักการที่เป็นแนวทาง ประการคือ
            1.สร้างบริการตามความต้องการของประชาชน
            2.ทําให้รัฐและการบริการของรัฐเข้าถึงได้มากขึ้น
            3.เกิดประโยชน์แก่สังคมโดยทั่วกัน
            4.มีการใช้สารสนเทศที่ดีกวาเดิม
         
            e-government คือ วิธีการบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ โดยการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสื่อสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานภาครัฐ ปรับปรุงการบริการแก่ประชาชน และการบริการด้านข้อมูลและสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ประชาชนมีความใกล้ชิดกับภาครัฐมากขึ้น สื่ออิเล็กทรอนิกส์จะเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการเข้าถึงบริการของรัฐ  โดยมุ่งเป้าไปที่กลุ่มคน กลุ่ม ได้แก่ ประชาชน ภาคธุรกิจอละข้าราชการเอง ผลพลอยได้ที่สำคัญที่จะได้รับคือ ความโปร่งใสที่มีมากขึ้นในกระบวนการทำงานของระบบราชการ อันเนื่องมาจากการเปิดเผยข้อมูล และประชาชนสามารถเข้ามาตรวจสอบได้ตลอกเวลาจึงคาดว่าจะนำไปสู่การลดคอร์รัปชันได้ในที่สุด



1. รัฐกับประชาชน (G2C)
          เป็นการให้บริการของรัฐสู่ประชาชนโดยตรง โดยที่บริการดังกลาว่าประชาชนจะสามารถดําเนินธุรกรรมโดยผานเครือข่ายสารสนเทศของรัฐ เช่น การชําระภาษี การจดทะเบียน การจายค่าปรับ การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน การมีปฏิสัมพันธ์ระหวางตัวแทนประชาชนกับผู้ลงคะแนนเสียงและการค้นหาข้อมูลของรัฐที่ดําเนินการให้บริการข้อมูลผานเว็บไซต์ เป็นต้น โดยที่การดําเนินการต่าง ๆ นั้นจะต้องเป็นการทํางานแบบ Online และ Real Time มีการรับรองและการโต้ตอบที่มีปฏิสัมพันธ์

2. รัฐกับเอกชน (G2B)

          เป็นการให้บริการขภาคธุรกิจเอกชน โดยที่รัฐจะอํานวยความสะดวกตอภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมให้สามารถแข่งขันกันโดยความเร็วสูง มีประสิทธิภาพ และมีข้อมูลที่ถูกต้องอยางเป็นธรรมและโปร่งใส เช่น การจดทะเบียนทางการค้า การลงทุน และการส่งเสริมการลงทุน การจัดซื8อจัดจ้างทางอิเล็กทรอนิกส์ การส่งออกและนําเข้า การชําระภาษี และการช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก


3. รัฐกับรัฐ(G2G)

          เป็นรูปแบบการทํางานที่เปลี่ยนแปลงไปมากของหน่วยราชการ ที่การติดตอสื่อสารระหว่างกันโดยกระดาษและลายเซ็นต์ในระบบเดิมในระบบราชการเดิม จะมีการเปลี่ยนแปลงไปด้วยการใช้ระบบเครือข่ายสารสนเทศ และ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลอยางเป็นทางการเพื่อเพิ่มความเร็วในการดําเนินการ (Economy of Speed) ลดระยะเวลาในการส่งเอกสารและข้อมูลระหว่างกัน  นอกจากนั้นยังเป็นการบูรณาการการให้บริการระหว่างหน่วยงานภาครัฐโดยการใช้การเชื่อมตอโครงข่ายสารสนเทศเพื่อเอื้อให้เกิดการทํางานร่วมกัน (Collaboration) และการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหวางกัน (Government Data Exchan) ทั้งนี้รวมไปถึงการเชื่อมโยงกับรัฐบาลของต่างชาติ และองค์กรปกครองท้องถิ่นอีกด้วย ระบบงานต่าง ๆ ที่ใช้ในเรื่องนี้ ได้แก่ ระบบงาน Back Office ต่าง ๆ ได้แก่ ระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ระบบบัญชีและการเงินระบบจัดซื้อจัดจ้างด้วยอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น อย่างไรก็ดี จะต้องมีกระบวนการในการลดแรงต่อต้านของบุคลากรที่คุ้นเคยกบการทํางานในระบบเดิม



4. รัฐกับข้าราชการและพนักงานของรัฐ (G2E)

         เป็นการให้บริการที่จําเป็นของพนักงานของรัฐ (Employee) กับรัฐบาล โดยที่จะสร้างระบบเพื่อช่วยให้เกิดเครื่องมือที่จําเป็นในการปฏิบัติงาน และการดํารงชีวิต เช่น ระบบสวัสดิการ ระบบที่ปรึกษาทางกฎหมาย และข้อบังคับในการปฏิบัติราชการ ระบบการพัฒนาบุคลากรภาครัฐ เป็นต้น




1.ระบบ E-Tending ระบบการยื่นประมูลอิเล็กทรอนิกส์
         เป็นระบบการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่มีมูลค่าสูง กระบวนการสลับซับซ้อน การจัดซื้อจัดจ้างโดยอาศัยวิธีการประกวดราคาตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ

2.ระบบ  E-Purching ระบบจัดซื้อจัดจ้างอิเล็กทรอนิกส์ แบ่งออกเป็น ระบบย่อย
              ระบบ E-Shopping ระบบการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่มีมูลค่าไม่สูง กระบวนการสลับซับซ้อนไม่มาก เช่น การจัดซื้อวัสดุสำนักงานในปริมาณไม่สามารถทำผ่านระบบ E-catalog
       ระบบ E-Auction เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างและบริการที่มีมูลค่าสูงหรือปริมาณมาก และมีกระบวนการดำเนินงานที่ไม่สลับซับซ้อนมากนัก เช่น การจัดซื้อคอมพิวเตอร์ การจัดหาบริการทำความสะดวก



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น