วันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บทที่ 9 E-government


             สำหรับประเทศไทย ในเรื่องการบริหารและการบริการของรัฐแก่ประชาชน มีการกล่าวถึงตั้งแต่ในกฎหมายสูงสุดของประเทศคือ รัฐธรรมนูญฯ ในมาตรา 78หรือแผนสภาพัฒน์ฯ ฉบับที่ 8 ที่กล่าวถึงการ นําไอทีมาใช้เพื่อเชื่อมโยง ระหว่างหน่วยงานของรัฐกับภาคเอกชน เพื่อการบริหารและการบริการที่มีประสิทธิภาพ  นอกจากนี้ ในแผนไอทีแห่งชาติเองก็ระบุวาหน่วยงานของรัฐต้องลงทุนให้พร้อมด้วยไอที และบุคลากรที่มีศักยภาพในการใช้ไอที ในแผนปฏิรูประบบบริหารภาครัฐก็ได้กำหนดกิจกรรมหนึ่งที่ทุกส่วนราชการต้องดําเนินการไว้ในแผนหลักเกี่ยวกบการปรับเปลี่ยนบทบาท ภารกิจและวิธีการบริหารของภาครัฐว่าการพัฒนาให้มีระบบสารสนเทศของหน่วยงานกลางในภาครัฐ ตลอดจนนําเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เหมาะสมมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานภาครัฐและการให้บริการแก่ประชาชน จะเห็นว่าในระดับนโยบายนั้นมีการให้ความสําคัญในเรื่องนี้มาโดยตลอด

ความหมาย e-government
E-government หรือรัฐอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วยหลักการที่เป็นแนวทาง ประการคือ
            1.สร้างบริการตามความต้องการของประชาชน
            2.ทําให้รัฐและการบริการของรัฐเข้าถึงได้มากขึ้น
            3.เกิดประโยชน์แก่สังคมโดยทั่วกัน
            4.มีการใช้สารสนเทศที่ดีกวาเดิม
         
            e-government คือ วิธีการบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ โดยการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสื่อสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานภาครัฐ ปรับปรุงการบริการแก่ประชาชน และการบริการด้านข้อมูลและสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ประชาชนมีความใกล้ชิดกับภาครัฐมากขึ้น สื่ออิเล็กทรอนิกส์จะเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการเข้าถึงบริการของรัฐ  โดยมุ่งเป้าไปที่กลุ่มคน กลุ่ม ได้แก่ ประชาชน ภาคธุรกิจอละข้าราชการเอง ผลพลอยได้ที่สำคัญที่จะได้รับคือ ความโปร่งใสที่มีมากขึ้นในกระบวนการทำงานของระบบราชการ อันเนื่องมาจากการเปิดเผยข้อมูล และประชาชนสามารถเข้ามาตรวจสอบได้ตลอกเวลาจึงคาดว่าจะนำไปสู่การลดคอร์รัปชันได้ในที่สุด



1. รัฐกับประชาชน (G2C)
          เป็นการให้บริการของรัฐสู่ประชาชนโดยตรง โดยที่บริการดังกลาว่าประชาชนจะสามารถดําเนินธุรกรรมโดยผานเครือข่ายสารสนเทศของรัฐ เช่น การชําระภาษี การจดทะเบียน การจายค่าปรับ การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน การมีปฏิสัมพันธ์ระหวางตัวแทนประชาชนกับผู้ลงคะแนนเสียงและการค้นหาข้อมูลของรัฐที่ดําเนินการให้บริการข้อมูลผานเว็บไซต์ เป็นต้น โดยที่การดําเนินการต่าง ๆ นั้นจะต้องเป็นการทํางานแบบ Online และ Real Time มีการรับรองและการโต้ตอบที่มีปฏิสัมพันธ์

2. รัฐกับเอกชน (G2B)

          เป็นการให้บริการขภาคธุรกิจเอกชน โดยที่รัฐจะอํานวยความสะดวกตอภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมให้สามารถแข่งขันกันโดยความเร็วสูง มีประสิทธิภาพ และมีข้อมูลที่ถูกต้องอยางเป็นธรรมและโปร่งใส เช่น การจดทะเบียนทางการค้า การลงทุน และการส่งเสริมการลงทุน การจัดซื8อจัดจ้างทางอิเล็กทรอนิกส์ การส่งออกและนําเข้า การชําระภาษี และการช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก


3. รัฐกับรัฐ(G2G)

          เป็นรูปแบบการทํางานที่เปลี่ยนแปลงไปมากของหน่วยราชการ ที่การติดตอสื่อสารระหว่างกันโดยกระดาษและลายเซ็นต์ในระบบเดิมในระบบราชการเดิม จะมีการเปลี่ยนแปลงไปด้วยการใช้ระบบเครือข่ายสารสนเทศ และ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลอยางเป็นทางการเพื่อเพิ่มความเร็วในการดําเนินการ (Economy of Speed) ลดระยะเวลาในการส่งเอกสารและข้อมูลระหว่างกัน  นอกจากนั้นยังเป็นการบูรณาการการให้บริการระหว่างหน่วยงานภาครัฐโดยการใช้การเชื่อมตอโครงข่ายสารสนเทศเพื่อเอื้อให้เกิดการทํางานร่วมกัน (Collaboration) และการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหวางกัน (Government Data Exchan) ทั้งนี้รวมไปถึงการเชื่อมโยงกับรัฐบาลของต่างชาติ และองค์กรปกครองท้องถิ่นอีกด้วย ระบบงานต่าง ๆ ที่ใช้ในเรื่องนี้ ได้แก่ ระบบงาน Back Office ต่าง ๆ ได้แก่ ระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ระบบบัญชีและการเงินระบบจัดซื้อจัดจ้างด้วยอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น อย่างไรก็ดี จะต้องมีกระบวนการในการลดแรงต่อต้านของบุคลากรที่คุ้นเคยกบการทํางานในระบบเดิม



4. รัฐกับข้าราชการและพนักงานของรัฐ (G2E)

         เป็นการให้บริการที่จําเป็นของพนักงานของรัฐ (Employee) กับรัฐบาล โดยที่จะสร้างระบบเพื่อช่วยให้เกิดเครื่องมือที่จําเป็นในการปฏิบัติงาน และการดํารงชีวิต เช่น ระบบสวัสดิการ ระบบที่ปรึกษาทางกฎหมาย และข้อบังคับในการปฏิบัติราชการ ระบบการพัฒนาบุคลากรภาครัฐ เป็นต้น




1.ระบบ E-Tending ระบบการยื่นประมูลอิเล็กทรอนิกส์
         เป็นระบบการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่มีมูลค่าสูง กระบวนการสลับซับซ้อน การจัดซื้อจัดจ้างโดยอาศัยวิธีการประกวดราคาตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ

2.ระบบ  E-Purching ระบบจัดซื้อจัดจ้างอิเล็กทรอนิกส์ แบ่งออกเป็น ระบบย่อย
              ระบบ E-Shopping ระบบการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่มีมูลค่าไม่สูง กระบวนการสลับซับซ้อนไม่มาก เช่น การจัดซื้อวัสดุสำนักงานในปริมาณไม่สามารถทำผ่านระบบ E-catalog
       ระบบ E-Auction เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างและบริการที่มีมูลค่าสูงหรือปริมาณมาก และมีกระบวนการดำเนินงานที่ไม่สลับซับซ้อนมากนัก เช่น การจัดซื้อคอมพิวเตอร์ การจัดหาบริการทำความสะดวก



วันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บทที่ 6 Supply chain management
Supply chain management
         การจัดการกลุ่มของกิจกรรมงาน กล่าวคือ ตั้งแต่การรับวัตถุดิบมาจาก Supplies แล้วเปลี่ยนวัตถุดิบนั้นให้เป็นสินค้าขั้นกลาง และสินค้าขั้นสุดท้าย จนกระทั่งจัดส่งสินค้าให้แก่ลูกค้า


         สิ่งที่จะทำให้เข้าใจถึงหน้าที่ของการผลิตและวิธีการควบคุมการผลิตนั้น เราจะต้องเข้าใจในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวในกระบวนการผลิตอยู่ 2 สิ่งหลักๆ คือ
             - วัตถุดิบ(Materials)
             - สารสนเทศ(Information)




ประโยชน์ของการทำ SCM
          - การเคลื่่อนไหลของวัตถุดิบและสารสนเทศเป็นไปอย่างราบรื่น
          - ปรับปรุงระดับของสินค้าคงเหลือ
          - เพิ่มความเร็วได้มากขึ้น
          - ขจัดความสิ้นเปลืองหรือความสูญเปล่าต่างๆ ในกระบวนการทางธุรกิจให้หมดไปได้
          - ลดต้นทุนในกิจกรรมต่างๆ ได้
          - ปรับปรุงการบริการลูกค้า

การบูรณาการในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Integration)
          - การบูรณาการภายในทางธุรกิจให้เป็นแบบไร้รอยตะเข็บ ได้ความสูญเสียและมีความยืดหยุ่น ใช้นโยบายการทำงานแบบข้ามสายงาน ลดกระบวนการและขั้นตอนการทำงานที่ไม่จำเป็น
          - การบูรณาการกับกระบวนการภายนอก นั่นคือบูรณาการกับกระบวนการของลูกค้าที่สำคัญและผู้จัดหาวัตถุดิบที่สำคัญให้เข้ากับกระบวนหารภายในของบริษัทอย่างมีประสิทธิภาพ และไร้รอยตะเข็บซึ่งจะส่งผลให้สารมารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างยืดหยุ่นและรวดเร็ว ขณะที่ต้นทุนลดต่ำลง
          - การบูรณาการทางเทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศ เพื่อให้การแลกเปลี่ยนและประสานข้อมูลข่าวสารภายในองค์กรและระหว่างองค์กรเป็นไปอย่างถูกต้อง รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ 


           Value Chain ห่วงโซ่คุณค่า




           INFORMATION SYSTEM REQUIREMENT






การนำระบบสารสนเทศไปใช้ในการจัดการด้าน Supply Chain
        Supply Chain Management คือ การจัดการเชื่อมกิจกรรมต่างๆ ที่สัมพันธ์ กันระหว่างผู้ผลิต(Supplier) ผู้จัดจำหน่าย (Distributor) และลูกค้า (Customer) 
        กลยุทธ์ทางด้าน Supply Chain นั้นได้แก่ ความพยายามที่จะผูกลูกค้า ผู้ผลิต หรือผู้จัดจำหน่ายกับธุรกิจ เรียกว่า Lock-in Customers หรือ Lock-in Suppliers เพือให้เกิดค่าใช้จ่ายในการ เปลี่ยนนไปทำธุรกิจกับผู้อื่น (Switching Cost) มีสูงขึน